วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือโปรแกรม Ulead Videostudio(ส่วนที่ 4)

ส่วนที่ 4 การใส่ข้อความ
การใส่ข้อความให้กับคลิปวิดีโอนั้น ไม่จำเป็นจะต้องใส่ในส่วนต้นหรือส่วนท้ายของวิดีโอเท่านั้น แต่การใส่ข้อความให้กับคลิปวิดีโอสามารถใส่ได้ตามอารมณ์ของผู้ตัดต่อ หรือตามลักษณะของงานที่ผู้ตัดต่อต้องการสามารถทำได้ดังนี้
1. Titleทำการเลือกที่ Title


2. ทำการเลือกแบบข้อความที่เราต้องการจากGallery


3. แดร็กเมาส์ข้อความที่เราต้องการมาใส่ในTitle Track


4. จากนั้นให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ข้อความ


5. ทำการเปลี่ยนข้อความตามที่เราต้องการ


6. จากนั้นทำการปรับเวลา, จัดตำแหน่งของข้อความ,Font Face,Font Size ,Line spacing จากเมนู Edit



7. จากนั้นทำการใส่ Animation ให้กับข้อความของคลิปวิดีโอของเรา

การแต่งเสียงให้กับข้อความ
จากที่เราได้การ Import File Audio เข้ามาในขั้นตอนในข้างต้น ต่อไปเรามาทำการตัดเสียงให้กับคลิปวิดีโอของเรา ทำได้ดังนี้
1. ให้ทำการเลือกที่ Music Track


2. ทำการตัดเสียงเพลงของเราให้กับคลิปวิดีโอที่เราต้องการ


3. ทำการตัดส่วนเพลงของวิดีโอในส่วนด้านหลัง


4. เมื่อเราได้เพลงที่ต้องการแล้วทดลองเล่น เพลงโดยการPlay


การ Mix File ให้กับวิดีโอ
1. วิดีโอเสร็จแล้วให้เราทำการนำไฟล์ที่เรานำมาทำการร่วมกับไฟล์อื่น ๆที่เราได้ทำมาแล้วในขั้นตอนข้างต้น





2. หลังจากนั้นทำการMix File



3. จากนั้นทำการPlay

ส่วนที่ 1 นางสาววารุณี คงพิพัฒน์ http://kwjoyforever-joykongpipat.blogspot.com/
ส่วนที่ 2นางสาวชนลักษณ์ จักรัส http://chakarat.blogspot.com/
ส่วนที่ 3 นางสาวศิริพร รัตนพันธ์ http://siriporn-a.blogspot.com/
ส่วนที่ 5 นางสาววารุณี คงพิพัฒน์http://kwjoyforever-joykongpipat.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย


การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการ นักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จะเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั้นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้
เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
1. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก
และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
2. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง
3. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน ( Authoring tool ) ที่ง่ายต่อการ
ใช้งาน ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
4. สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอ
สถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
5. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ
6. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้
ทุกระดับอายุและความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
7. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของ
โรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้ การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วย
องค์ประกอบที่เอื้อต่อการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัว ผลักดันให้ครู อาจารย์ และผู้บริหารทุกระดับของการศึกษาไทย หันมาให้ความสนใจกับการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐนอกจากได้มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทุกระดับ รวมทั้งแผนการให้ความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหาร ครูและอาจารย์แล้ว ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการผลิตและการจัดซื้อมัลติมีเดียด้วย
ในส่วนของภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับการผลิตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเช่นกัน หลายโรงเรียนมีขีดความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยตนเองเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในกลุ่มโรงเรียน หรือใช้ในโรงเรียนในโครงการหรือเครือข่ายความร่วมมือกันบางโรงเรียนต้องซื้อจากผู้ผลิตอื่นๆ บางโรงเรียนใช้วิธีผสมผสาน คือ ผลิตเองบ้าง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตตามความต้องการบ้าง บรรยากาศในการผลิตและการจัดหาสื่อมัลติมีเดีย เกิดขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีแล้วแต่ยังพบว่าปริมาณและคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียที่เราผลิตขึ้นใช้เองนั้น มิได้สูงขึ้นตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น